คำว่า บุรีรัมย์ ซึ่งแปลว่า
เมืองที่น่าพอใจ มีความเป็นมายาวนานและมีหลักฐานที่แตก ต่างกัน
จะขอนำตัวอย่างหลักฐานอ้างอิง ดังนี้
|
๒. จากประวัติจังหวัดนครราชสีมา
แต่งโดยสุขุมาลย์เทวี กล่าวว่า สมัย สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองขึ้น ๕ เมือง คือ นครจันทึก ชัยภูมิ พิมาย
บุรีรัมย์ นางรอง
๓. ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ
โดยหลวงวิจิตรวาทการ ฉ. ๓ กล่าวว่า บุรีรัมย์ เดิมชื่อ โนนม่วง ตั้งสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๘
ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์ มีความแตกต่างจากประวัติศาสตร์จังหวัดอื่น
ตรงที่ว่า ประวัติศาสตร์จังหวัดอื่นส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ชุมชน
ซึ่งรวมตัวกันขึ้นในจุดใดจุดหนึ่ง และจุดนั้นก็พัฒนามาจนกลายเป็นจังหวัด
หรือเมืองนั้นๆ แต่เมืองบุรีรัมย์จุดเริ่มต้นและจุดที่เป็นจังหวัดคนละแห่งกัน
ความสัมพันธ์ของทั้งสองจุดก็ไม่ได้แน่นแฟ้นกันนัก
ประวัติศาสตร์ที่ได้มาจึงมีลักษณะที่เด่น คือเป็นเรื่องของชาวบุรีรัมย์
ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจ้าเมืองบุรีรัมย์เพียงอย่างเดียว
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบัน
เป็นดินแดนที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นมาโดยตลอด
จากหลักฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. จากการศึกษาสำรวจ และศึกษาจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของ รศ.
ศรีศักร วัลลิโภดม และ
ผศ. ทิวา ศุภจรรยา
ปรากฏว่า มีเมืองและชุมชนโบราณเฉพาะในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เกินกว่า ๑๓๐ แห่ง
เมืองและชุมชนเหล่านั้นจะมีคูน้ำ คันดินล้อมรอบถึง ๓ ชั้น
ก็มีลักษณะของเมืองเป็นรูปทรงกลมเกือบทั้งหมด
จากการวิเคราะห์ในชั้นต้นเป็นเมืองและชุมชนที่อายุอยู่ในสมัยทวารวดี๑
ซึ่งจากข้อสำรวจดังกล่าวในบริเวณลำน้ำมูลพบว่า
ลำน้ำนี้เป็นลำน้ำหลักของบริเวณ ไหลมาจากทางทางตะวันตกผ่านตอนใต้ของอำเภอพุทไธสง
ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังเขตอำเภอชุมพลบุรี
และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตามลำดับ ทางฝั่งใต้ของ แม่น้ำมูลในรัศมี ๒ - ๑๗
กิโลเมตร จากฝั่งน้ำ ได้พบชุมชนเป็นระยะไป
ซึ่งล้วนแต่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มทั้งสิ้น คือ บ้านปะเคียบ บ้านโนนสูง
บ้านแพ บ้านดงเค็ง บ้านสระขี้ตุ่น บ้านเขว้า
บ้านกระเบื้อง บ้านโคกเมืองไช บ้านเมืองน้อย บ้านดงพลอง บ้านตะแบง
บ้านโคกเมือง บ้านทุ่งวัง และบ้านสำโรง
ชุมชนโบราณที่กล่าวถึงนี้อาจวิเคราะห์ตามรูปร่างลักษณะและสภาพแวดล้อม คือ
(๑) แบบที่เป็นเนินดินสูงจากระดับ ๕ เมตรขึ้นไป จากที่ราบลุ่มในบริเวณรอบๆ ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ
บางแห่งก็เป็นเนินเดี่ยว แต่บางแห่งก็เป็นสองสามเนินดินต่อกัน
ตามเนินดินจะมีเศษเครื่องปั้นดินเผา
ทั้งที่มาจากหม้อกระดูกและไม่ใช่หม้อกระดูกกระจัดกระจายอยู่เนินดิน
ที่เป็นแหล่งสำคัญในแบบนี้ได้แก่ บ้านกระเบื้อง
ซึ่งเป็นเนินดินขนาดใหญ่มี ๓ เนินดินติดต่อกัน
ในการตัดถนนผ่านหมู่บ้านรถแทรกเตอร์ได้ตัดชั้นดินของแหล่งชุมชนโบราณลึกไปอีกถึง ๓ -
๔ เมตร เผยให้เห็น
ชั้นดินที่มีการอยู่สืบเนื่องกันมาอย่างน้อย ๒-๓ ชั้น
ชั้นต่ำสุดสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาแบบหนาและหยาบ เปลือกหอย และกระดูกสัตว์
ชั้นบนๆ ขึ้นมาสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาชนิดบางมีลายเชือกทาบ
และบรรดาภาชนะบรรจุกระดูกคน ตามแบบต่างๆ นอกนั้นยังพบเศษขี้โลหะ
ที่เหลือจากการถลุงแล้ว
เนินดินอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านโคกสูง พบชั้นดินที่อยู่อาศัยอย่างน้อย ๒ -
๓ ชั้น และพบเศษขี้แร่โลหะ
เช่นเดียวกันกับที่บ้านกระเบื้อง
(๒) แบบที่เป็นเนินดินที่คูน้ำล้อมรอบ ได้แก่ บ้านแพ บ้านโคกเมืองไช
บ้านเมืองน้อย บ้านดงพลอง บ้านโคกเมือง และบ้านทุ่งวัง
ชุมชนโบราณเหล่านี้บางแห่งก็มีคูน้ำล้อมรอบชั้นเดียว แต่บางแห่งก็มีคูน้ำล้อมรอบตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป
เช่น บ้านดงพลอง และบ้านโคกเมือง แหล่งสำคัญเห็นจะได้แก่บ้านดงพลอง
ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีคูน้ำล้อมรอบสองชั้น
พบเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นภาชนะใส่กระดูกคนตายและเครื่องปั้นดินเผาเครือบแบบลพบุรี
ซึ่งเข้าใจว่าคงแพร่มาจากเตาบ้านกรวด
แสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้คงมีอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -
๑๗ บ้านโคกเมืองก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เป็นชุมชนรูปกลม
มีคูน้ำล้อมรอบถึง ๓ ชั้น ภายในชุมชนพบเศษภาชนะดินเผา
พร้อมบรรจุกระดูกและขี้โลหะที่ถลุงแล้วเป็นจำนวนมาก ถัดมาก็เป็นบ้านทุ่งวัง
ซึ่งเป็นเนินดิน ๒ - ๓ เนินที่มีคูน้ำโอบรอบเข้าไว้ด้วยกัน
พบเสมาหินทรายแบบทวารวดี และเนินดินลูกหนึ่งที่ใช้เป็นแหล่งถลุงโลหะโดยเฉพาะ
นอกนั้นยังมีผู้พบเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาแบบขอมซึ่งเป็นของในคริสต์ศตวรรษที่
๑๐ - ๑๑ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘) ลงมา
(๓) แบบที่เป็นเนินดิน ๒ - ๓ เนิน
มีคูน้ำล้อมรอบและมีการสร้างคันดินโอบรอบอีก
ชั้นหนึ่งพบที่บ้านปะเคียบเพียงแห่งเดียว
แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของผังชุมชนตั้งแต่ระยะแรกที่มีเพียง เนินดินเป็นที่อยู่อาศัย
แล้วต่อมาก็มีการขุดคูน้ำล้อมรอบ และในสมัยหลังสุดก็มีการสร้างคูคันดินเป็นกำแพงเมืองโอบรอบอีกชั้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
แต่น่าเสียดายที่ว่าการสร้างกำแพงดินนี้เสร็จ
เพียงแค่ด้านตะวันตกด้านใต้ถ้าหากว่าทำเสร็จแล้วผังของชุมชนแห่งนี้จะเป็นลักษณะเดียวกันกับ ผังเมืองร้อยเอ็ด และสุรินทร์ทีเดียว
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการที่จะปรับปรุงให้ชุมชนบ้านปะเคียบเป็นเมืองขึ้นในสมัยลพบุรี
ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ (พุทธศตวรรษที่
๑๖-๑๘) นอกจากนี้บริเวณภายในชุมชนบ้านปะเคียบเองก็แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่สอดคล้องกับลักษณะผังเมืองที่ได้กล่าวมาแล้วคือพบเนินดินที่จัดไว้เป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ
เป็นที่ฝังอัฐิคนตาย ซึ่งบรรจุไว้ในหม้อกระดูก ต่อมาบริเวณนี้ ได้กลายเป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนา
มีเสมาหินที่มีรูปสลักเป็นรูปสถูปและฐานกลีบบัว อันเป็นสัญลักษณ์ในทางพุทธศาสนา
ปักอยู่หลายหลัก รวมทั้งมีชิ้นส่วนของธรณีประตูหินที่แสดงให้เห็นว่า เคยมีการสร้างอาคารในรูปของวิหารบนเนินนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังพบเศษโลหะสัมริดที่หล่อเป็นรูป
วงแหวนและชิ้นส่วนของเทวรูปและข้างในบริเวณนี้อีกด้วย อันแสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่มีพัฒนาการมาถึงสมัยทวารวดี
และลพบุรี
ทางฝั่งเหนือของลำน้ำ
ในรัศมี ๒ - ๗ กิโลเมตร จากฝั่งน้ำสำรวจพบแหล่งโบราณคดี จำนวน ๑๗ แห่ง คือ
บ้านเมืองไผ่ บ้านเมืองบัว บ้านจาน บ้านขี้เหล็ก บ้านน้ำอ้อมใหญ่ บ้านแสงสุข บ้านยะวึก บ้านขี้ตุ่น บ้านน้ำอ้อม
บ้านกระเบื้องใหญ่ บ้านกระเบื้องน้อย บ้านหัวนาดำ บ้านสำโรง บ้านตึกชุม บ้านโนนยาว
บ้านเขาโค้ง บ้านกระเบื้อง
แหล่งโบราณคดีเหล่านี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำมูล คือ
แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๒ แบบ คือ แบบที่เป็นเนินดินโดยไม่มีคูน้ำล้อมรอบ
และแบบที่มีคูน้ำล้อมรอบ ในบรรดาแบบที่ไม่มีคูน้ำล้อมรอบที่น่าสนใจเห็นจะได้แก่
บ้านกระเบื้องใหญ่ ตำบลยะวึก
เป็นเนินดินขนาดใหญ่ที่มีความสูงลาดขึ้นไปจากทางตะวันตกไปทางตะวันออก
แสดงถึงการทับถมของแหล่งที่อยู่อาศัยหลายยุคหลายสมัย ตอนปลายเนินทางด้านตะวันออก
ซึ่งเป็นตอนที่สูงสุดนั้นปัจจุบันเป็นเขตวัดประจำหมู่บ้าน
ดูเหมือนจะถูกจัดไว้ให้เป็นแหล่งศักดิ์สิทธิของชุมชนในสมัยโบราณ
เพราะเป็นบริเวณที่มีเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้เป็นหม้อบรรจุกระดูกคนตายอยู่หนาแน่นกว่าที่อื่นๆ
เนินดินอีกแห่งหนึ่งคือ ที่บ้านโนนยางร้างอยู่ในเขตตำบลบ้านกระเบื้อง
อำเภอชุมพลบุรี เป็นเนินดินที่ตั้งอยู่ติดกับลำแม่น้ำมูล
ปัจจุบันลำน้ำเปลี่ยนทางเดินเลยกัดเซาะเนินดินแห่งนี้พังทลายลงน้ำไปครึ่งเนิน
เผยให้เห็นถึงชั้นดินธรรมชาติ
และชั้นดินที่อยู่อาศัยตั้งแต่ชั้นล่างสุดจนถึงชั้นบนสุดที่มีระดับสูงถึง ๔ เมตร
เนินดินแห่งนี้ทางคณะสำรวจได้ทำการขุดหลุมทดลองทำผังบริเวณ
นำเศษเครื่องปั้นดินเผามาวิเคราะห์ และส่งตัวอย่างถ่านไปทำการกำหนดอายุที่สถาบันพลังงานปรมาณูแห่งชาติ
ส่วนแหล่งโบราณคดีแบบที่มีคูน้ำล้อมรอบนั้น
ในบริเวณนี้มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ แหล่งที่เป็นขนาดเล็กมีลักษณะกลม
และบางแห่งก็มีคูน้ำล้อมรอบ ๒ -
๓ ชั้น เช่น บ้านน้ำอ้อมใหญ่ เป็นต้น แต่มักเป็นเนินดินต่ำๆ
มีชั้นดินที่มีเศษเครื่องปั้นดินเผาไม่ลึก และไม่มีความหนาแน่น
แสดงถึงการตั้งหลักแหล่งแต่เพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วร้างไป
ส่วนแหล่งขนาดใหญ่นั้นมักมีรูปแบบไม่สม่ำเสมอ เช่นที่บ้าน ยะวึก และบ้านตึกชุม
เป็นต้น แต่ละแห่งมีคูน้ำล้อมรอบขนาดใหญ่ที่สำคัญเห็นจะได้แก่ บ้านยะวึก เพราะภายในบริเวณที่มีคูน้ำล้อมรอบนั้น
มีอยู่หลายเนินดินที่อยู่อาศัย พบเศษเครื่องปั้น
ดินเผาที่เป็นหม้อบรรจุกระดูกและขี้โลหะที่เหลือจากการถลุงกระจายไปทั่ว
นอกคูน้ำออกมาก็มีเนินดินที่บางเนิน เช่น บริเวณที่วัดยะวึก ตั้งอยู่นั้นมีลักษณะเหมาะที่เป็นทั้งแหล่งฝังอัฐิคนตายและการถลุงโลหะ
ทางคณะสำรวจได้ทำการขุดหลุมทดลองในบริเวณนี้เช่นกัน
ห่างออกไปทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
มีแนวทางถนนที่เป็นคันดินไปติดต่อกับแหล่งชุมชนโบราณที่บ้านน้ำอ้อมใหญ่
และบ้านแสงสุข ยิ่งกว่านั้นยังมีแนวทางไปติดต่อกับชุมชนโบราณอีกหลายแห่งในเขตลำน้ำพลับพลาทางเหนือจากร่องรอยคันดินที่สัมพันธ์กับแหล่งชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียงเช่นนี้
แสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณที่บ้านยะวึกนี้มีลักษณะเป็นชุมชนใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นก็ว่าได้
๒. มีการขุดพบพระพุทธรูปนาคปรก
สมัยทวารวดี ที่บ้านเมืองฝ้าย ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอ ลำปลายมาศ และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า
เป็นพระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวารวดีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย
นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์
ที่อำเภอพุทไธสง ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓
– ๑๕
และพบใบเสมาที่บ้านปะเคียบ อำเภอคูเมือง อันเป็นโบราณวัตถุสมัย ทวารวดี ดังนั้นจึงทำให้สันนิษฐานได้ว่า
ดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งชุมชนสมัยทวารวดี อย่างน้อยที่สุดก็ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓
๓. จากหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบันด้านสถาปัตยกรรม
และเครื่องมือเครื่องใช้ เช่นปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และอื่นๆ อีกมาก
เทวรูป พระพุทธรูป
ซึ่งมีความงดงามและมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และใกล้เคียง
นอกจากนั้นยังมีเครื่องปั้นดินเผาชนิดเผาแกร่ง มีเตาเผาขนาดใหญ่
ซึ่งนักโบราณคดีหลายท่านกล่าวว่า ไม่พบในที่อื่นแม้แต่ในเขมรต่ำ (ประเทศกัมพูชา) ศิลปสถาปัตยกรรมเหล่านี้มีอายุอยู่ในสมัยพระนคร
๔. ๒จากการก่อสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานประกอบกิจทางศาสนา
และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ผู้มีอำนาจ
เข้าใจว่าปราสาทหินเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของ เมืองใด
เมืองหนึ่งในละแวกใกล้เคียงกันเพราะห่างจากเขาลูกนี้ไปทางใต้ ประมาณ ๘ กิโลเมตร
มีเมืองโบราณเมืองหนึ่งขนาดไม่ใหญ่โตนักแต่มีระบบการชลประทาน
หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชนเมืองนั้นได้ตลอดทั้งปี
อ่างเก็บน้ำนี้บุผนังทั้ง ๔ ด้าน ด้วยศิลาแลง
กำแพงเมืองเป็นกำแพงดินที่ขุดจากคูรอบเมืองพูนให้สูงขึ้น
และปักเสาระเนียดบนคันดินนั้น ร่องรอยต่างๆ สาบสูญหมดแล้ว
คงเหลือเพียงคันดินและกำแพงดินบางตอนเท่านั้น ที่กลางเมืองมีเทวสถานขนาดใหญ่
สร้างขึ้นบนผังที่งดงาม ตัวเทวสถานสร้างขึ้นด้วยอิฐทั้งหลัง
ส่วนระเบียงและใดปุระทั้ง ๔ เรียงด้วยหินทราย การเรียงอิฐก่อสร้างในเทวสถานใช้
กรรมวิธีอย่างดียิ่งจนสามารถทำให้เนื้ออิฐแนบสนิทจนเกือบจะเป็นเนื้อเดียวกันเห็นเป็นรอยเส้นเล็กๆ
ระหว่างอิฐแต่ละก้อนเท่านั้น อิฐเหล่านี้มีส่วนของการผสมดินที่ดี
จนสามารถนำมาฝนให้เรียบในระหว่างการเรียง
และใช้น้ำที่ละลายออกมาจากอิฐนั้นปนด้วยยางไม้หรือน้ำกาวเป็นตัวเชื่อมอิฐเข้าด้วยกัน ทำให้ดูไม่เห็นรอยเลื่อมต่อของอิฐ
ตามลักษณะของเทวสถานเมืองโบราณแห่งนี้
เมื่อนำไปเทียบกับเทวสถาน ๒ -
๓ หลัง
ที่ก่อสร้างด้วยอิฐบนยอดเขาพนมรุ้งแล้วเห็นว่าน่าจะสร้างขึ้นในยุคสมัยไล่เลี่ยกัน
หรือ ยุคเดียวกันในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖
๕. จากศิลาจารึก ซึ่งพบที่ เขาพนมรุ้ง
ได้กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์
ที่เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างและดูแลรักษาปราสาทพนมรุ้ง
เป็นคนละองค์กับกษัตริย์ที่ปกครองนครวัด เช่น หิรัณยะวร-มันกษีตินทราทิตย์ วิเรนทรวรมัน เป็นต้น และระบุศักราชเป็น พ.ศ. ๑๔๓๓ ก็มี ๑๕๓๒ ก็มี
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแถบนี้เป็นอิสระ
แต่ยอมรับความเป็นผู้นำของพระนคร
จากหลักฐานและเหตุผลข้างต้นนี้
พอจะสรุปได้ว่าดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ (เขตจังหวัดไม่ใช่ตัวจังหวัด) ปัจจุบันนี้เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาตั้งแต่
สมัยทวารวดีถึงสมัยลพบุรี มีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองเป็นอิสระ
มีประชาชนอยู่หนาแน่น
จนสามารถเกณฑ์แรงงานสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่อย่างปราสาทเขาพนมรุ้ง
และแต่ละชุมชนจะต้องมีประชากรหนาแน่นพอที่จะสร้างคูเมืองขนาดใหญ่ได้ เมืองต่างๆ
เหล่านี้คงร้างไปตามธรรมชาติ หรือจากภัยต่างๆ เช่น ฝนแล้ง โรคระบาด
สงคราม โจรผู้ร้าย เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแม้แต่นครวัด
นครธม ที่ถูกอาณาจักรอยุธยารุกรานครอบครอง เมื่อ พ.ศ.
๑๘๙๕ และได้ร้างอยู่จนป่าไม้ใหญ่ปกคลุม ขนาดที่ชาวฝรั่งเศส
เข้าไปพบโดยบังเอิญ และไม่เชื่อในสายตาตัวเองว่าจะพบสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ เช่นนี้
สอบถามชาวบ้านก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นอะไร สร้างเมื่อไร หากไม่ได้อาศัยศิลาจารึกก็คงไม่มีใครทราบจนกระทั่งปัจจุบันนี้
อาจมีประชาชนส่วนหนึ่งที่รอดจากภัยมาได้
เข้าหลบอยู่ในป่าชายแดน จนทำให้ทาง
กรุงศรีอยุธยาเรียกว่า เขมรป่าดง
ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นบุรีรัมย์ขาดตอนอยู่ช่วงหนึ่งคือ
จากยุคโบราณมาจนถึงยุคสิ้นสุดการก่อสร้างปราสาทหินในที่ต่างๆ
จากนั้นประวัติศาสตร์บุรีรัมย์เริ่มชัดเจนขึ้นอีกครั้งหนึ่งตอนปลายสมัยอยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น