สมัยรัตนโกสินทร์


สมัยรัตนโกสินทร์
      สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองบุรีรัมย์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ของบ้านเมืองน้อย
ตามที่ปรากฏในบันทึกภูมิศาสตร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่นายสุข รวบรวมไว้มีความว่า พระนครภักดี (หงส์ ต้นตระกูล หงษ์รุจิโก) บุตรพระยาดร (เอม) เจ้าเมืองพุทไธสมัน (ปัณเทียยมาล) ได้พาครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านตะโก ต่อมาได้สร้างเป็นเมืองขึ้นเมื่อ พ.. ๒๓๕๐ เรียกว่า เมืองแปะ เพราะมีต้นแปะอยู่กลางเมือง
นอกจากนี้บางประวัติยังกล่าวว่าใน พ.. ๒๓๗๐ เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้       เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนและเสยียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองแปะ เมืองนางรอง พระนครภักดี (หงษ์) นำราษฎรออกต่อสู้ เมื่อสู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองพุทไธสมัน ทหารลาวตามไปทันแล้วจับตัวได้ที่ช่องเสม็ด (ช่องเขาที่จะไปประเทศกัมพูชา) เมื่อถูกจับแล้ว ทหารลาวนำตัวพระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่จับได้ไปให้เจ้าราชวงศ์ แล้วถูกควบคุมตัวไว้ที่ทุ่งเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งเจ้าราชวงศ์ตั้งทัพอยู่ที่นั่น แต่พระยานครภักดี (หงส์) และครอบครัวที่ถูกควบคุมตัวได้จับอาวุธต่อสู้เพื่อหนี จึงถูกฆ่าตายหมด
นอกจากนี้  ในบางเล่มยังกล่าวถึงประวัติเมืองบุรีรัมย์ ที่แตกต่างออกไปอีกดังนี้ว่า บุรีรัมย์มีชื่อว่าเมืองจรเข้ เดิมขอมดำได้เข้าตั้งเป็นเมืองเล็กๆ ในลุ่มน้ำห้วยจรเข้ และให้ชื่อเมืองตามลุ่มน้ำนั้น เพราะมีจรเข้ชุมมาก และไข้ป่ามีพิษรุนแรง ขอมดำอยู่ได้ไม่นานก็ทิ้งร้างไป ครั้นขอมดำสิ้นอำนาจไทยจึงเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มน้ำห้วยจรเข้นี้อีก ตอนแถบบ้านโคกหัวช้าง และบ้านทะมาน จนถึงสมัย    กรุงธนบุรี เจ้าเมืองนางรอง และเจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมือง พระเจ้าตากสินโปรดให้เจ้าพระยาจักรี   ยกทัพออกไปปราบแล้วนำบุตรชายเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) มาด้วย ผ่านมาทางลุ่มน้ำจรเข้ เห็น  ผู้คนตั้งบ้านเรือนมาก และได้ทราบว่าที่นั่นเป็นเมืองร้างของขอมดำอยู่ก่อนแล้ว ชื่อเมืองจรเข้ จึงได้ตั้งเมืองขึ้นที่เมืองร้างนั้น และให้ชื่อว่า เมืองแปะ ตามนามต้นไม้ใหญ่ ครั้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บุรีรัมย์
ประวัติศาสตร์บางเล่มก็เล่ากันว่า  ขอมได้ครอบครองเมืองบุรีรัมย์และใช้เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัมพูชา กับหัวเมืองขึ้นในภาคอีสานของไทย เช่น พิมาย สกลนคร มีถนนโบราณเหลืออยู่สายหนึ่ง เริ่มจากบ้านละลมพะเนา (บ้านละลมทะนู ปัจจุบัน) ตำบลจันดุม อำเภอประโคนชัย ขึ้นไปอำเภอพุทไธสง มีหลักหินปักเป็นระยะๆ จนถึงเขาพนมรุ้งในสมัยที่ไทยเรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตมายังเมืองบุรีรัมย์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มาครองเมืองบุรีรัมย์ ทางนครราชสีมา หรือทางหลวงพระบาง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเมืองขึ้นอยู่กับนครราชสีมา มีศูนย์กลางการ  ปกครองอยู่ที่เมืองนางรอง (ปัจจุบัน คือ อำเภอนางรอง) และมีเมืองใกล้เคียงหลายหัวเมือง เช่น เมืองพุทไธสมัน (ปัจจุบัน คือ อำเภอพุทไธสง) เมืองตลุง (ปัจจุบัน คือ อำเภอประโคนชัย) ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณ พ.. ๒๓๒๑ เจ้าเมืองนางรอง ได้แข็งเมือง เจ้าพระยาจักรได้ยกมาเกลี้ยกล่อมให้เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา ตามเดิม เมื่อเสด็จกลับได้ทรงพบเมืองร้างซึ่งมีชัยภูมิดี จึงโปรดให้ตั้งเมืองขึ้นเรียกว่า เมืองแปะ ตามชื่อต้นแปะใหญ่ (ปัจจุบันบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) ทรงแต่งตั้งบุตรเจ้าเมืองพุทไธ-สมัน คือ พระยาภักดี ขึ้นครองเมือง ครั้นถึง สมัยพระยานครภักดี (ทองดี) เป็นเจ้าเมือง ทางราชการได้รวมเมืองนางรอง เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เมืองรัตนบุรี เมืองตลุง และเมืองแปะ เข้ามาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า บริเวณนางรอง และตัวศาลากลางอยู่ที่เมืองปะ ต่อมาอาณาเขตนางรองเปลี่ยนไป คือ เมืองพิมายโอนไปขึ้นอยู่กับนครราชสีมา เมืองรัตนบุรีไปขึ้นอยู่กับสุรินทร์    ซึ่งบริเวณนางรองก็เปลี่ยนเป็นบุรีรัมย์ มี พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน) เป็นเจ้าเมืองคนแรก (.. ๒๔๔๑ - ๒๔๔๔)
ตั้งแต่เมืองแปะได้ตั้งขึ้นมีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมา คือ
. พระยานครภักดี (บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน)
. พระยานครภักดี (หงษ์)
. พระปลัด บุตรพระยานครภักดี (หงษ์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งชั่วคราว
. พระพิพิธ (สำแดง) ส่งมาจากนครราชสีมา
. พระนครภักดี (พระสำแดง) .. ๑๒๓๐ (.. ๒๔๑๑)
. พระแพ่ง (รั้งตำแหน่ง) ส่งมาจากนครราชสีมา
. พระชมภู (รั้งตำแหน่ง) ส่งมาจากนครราชสีมา
. พระนครภักดี (ทองดี) บุตรพระปลัด

ความเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ ๕ - ปัจจุบัน
ในปี พ.. ๒๔๓๓ มีการประกาศเรียกชื่อข้าหลวงกำกับหัวเมืองทั้ง ๔ ขึ้น โดยแยกเมืองบุรีรัมย์ไปขึ้นกับลาวฝ่ายเหนือ และพ่วงเมืองนางรองไปด้วย ขณะที่เมืองพุทไธสง และเมืองตะลุง ยังคงสังกัดอยู่กับเมืองนครราชสีมา ตามเดิม ดังนี้
. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก (จำปาศักดิ์) มีเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก ๑๑ เมือง เมืองขึ้น ๒๑ เมือง (โท ตรี จัตวา) รวม ๓๒ เมือง
. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี) มีเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก ๑๒เมือง โท ตรี จัตวา ๒๙ เมือง รวม ๔๑ เมือง
. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ (หนองคาย) มีเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก ๑๖ เมือง คือ หนองคาย เชียงขวาง บริคัณทนิคม โพนพิสัย ชัยบุรี ท่าอุเทน นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กมุทาสัย หนองหาร บุรีรัมย์ ขอนแก่น คำมวน คำเกิด และหล่มสัก
บุรีรัมย์มีเมืองสังกัด ๑ เมือง คือ เมืองนางรอง
. หัวเมืองลาวกลาง (นครราชสีมา) มีหัวเมืองสังกัดเป็นเมืองเอก ๓ เมือง คือ นครราชสีมา ชนบท และภูเขียว
หัวเมือง โท ตรี จัตวา สังกัดทั้งหมด ๑๒ เมือง
เมืองนครราชสีมา มี ๘ เมือง คือ พิมาย รัตนบุรี นครจันทึก ปักธงชัย พุทไธสง ตะลุง       สูงเนิน และกระโทก
เมืองชนบท มี ๔ เมือง คือ ชัยภูมิ โนนลาว เกษตรสมบูรณ์ และจตุรัส

ประกาศเปลี่ยนชื่อมณฑล
เมื่อ ร.. ๑๑๘ (.. ๒๔๔๒) ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อ มณฑลต่างๆ ตามพื้นที่เป็นมณฑลว่า ลาวเฉียง ลาวพวน ลาวกาว และมณฑลเขมร นั้น ให้กำหนดพื้นที่ และเปลี่ยนชื่อ ดังนี้
. เมืองเชียงใหม่ ลำพูน น่าน เถิน แพร่ และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านั้น ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวเฉียง ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ
. เมืองหนองคาย หนองหาร ขอนแก่น ชนบท หล่มสัก กมุทาสัย สกลนคร ชัยบุรี       โพนพิสัย ท่าอุเทน นครพนม มุกดาหาร รวม ๑๒ หัวเมือง และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งเรียกว่า ลาวพวน นั้น ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลฝ่ายเหนือ
. เมืองนครจำปาศักดิ์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และเมืองอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่า มณฑลลาวกาว นั้น ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า  มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ
. เมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ พนมศก และเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ ซึ่งรวม เรียกว่า มณฑลเขมร นั้น ต่อนี้สืบไปให้เรียกว่า มณฑลตะวันออก
. หัวเมืองในมณฑลนครราชสีมา ซึ่งแบ่งเป็น ๓ บริเวณ คือ นครราชสีมา พิมาย ปักธงชัย และนครจันทึก ซึ่งรวมเรียกว่า "บริเวณนครราชสีมา" ต่อนี้สืบไปให้รวมเรียกว่า "เมืองนครราชสีมา"
. เมืองนางรอง บุรีรัมย์ ประโคนชัย พุทไธสง และรัตนบุรี ซึ่งรวมเรียกว่า "บริเวณนางรอง" นั้น ต่อนี้สืบไปให้รวมเรียกว่า "เมืองนางรอง" ยกเป็นเมืองจัตวา เมืองหนึ่ง
. เมืองชัยภูมิ ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ จตุรัส และบำเหน็จณรงค์ ซึ่งรวมเรียกว่า "บริเวณชัยภูมิ" นั้น ต่อนี้สืบไปให้รวมเรียกว่า "เมืองชัยภูมิ" ยกเป็นเมืองจัตวา เมืองหนึ่ง

เปลี่ยนชื่อมณฑลครั้งที่ ๒
ในปี[1] .. ๑๑๙ (.. ๒๔๔๓) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ตรากฎกระทรวง ซึ่งมีชื่อว่า กฎข้อบังคับเรื่องเปลี่ยนชื่อมณฑล ๔ มณฑล ดังนี้
. มณฑลตะวันออก ให้เรียกว่า มณฑลบูรพา
. มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เรียกว่า มณฑลอีสาน
. มณฑลฝ่ายเหนือ ให้เรียกว่า มณฑลอุดร
. มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ ให้เรียกว่า มณฑลพายัพ
ในปี ร.. ๑๒๖ (.. ๒๔๕๐) ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
. มณฑลอีสาน ประกอบด้วย ๔ บริเวณ (มีบริเวณอุบลราชธานี, ขุขันธ์, สุรินทร์ และร้อยเอ็ด) ๑๓ เมือง และ๒๖ อำเภอ
. มณฑลอุดร  ประกอบด้วย ๕ บริเวณ (มีบริเวณหมากแข้ง, ธาตุพนม, สกลนคร, ภาชี และน้ำเหือง) ๕ เมือง และ ๓๑ อำเภอ
. มณฑลนครราชสีมา ประกอบด้วยเมือง ๓ เมือง ๑๗ อำเภอ ดังนี้
 .๑ เมืองนครราชสีมา มีอำเภอในปกครอง ๑๐ อำเภอ คือ
  ..๑ เมืองนครราชสีมา
  ..๒ เมืองพิมาย
  ..๓ นอก (บัวใหญ่)
  ..๔ สูงเนิน
  ..๕ กลาง (โนนสูง)
  ..๖ จันทึก (ปัจจุบันเป็นตำบล ขึ้นสีคิ้ว)
  ..๗ กระโทก (โชคชัย)
  ..๘ ปักธงชัย
  ..๙ พันชนะ (ด่านขุนทด)
  ..๑๐ สันเทียะ (โนนไทย)
.๒ เมืองบุรีรัมย์ มีอำเภอสังกัด ๔ อำเภอ คือ
            ..๑ พุทไธสง
            ..๒ รัตนบุรี (ปัจจุบันสังกัดสุรินทร์)
            ..๓ นางรอง
            ..๔ ประโคนชัย
.๓ เมืองชัยภูมิ มีอำเภอสังกัด ๓ อำเภอ คือ
           ..๑ จตุรัส
           ..๒ เกษตรสมบูรณ์
           ..๓ ภูเขียว
ต่อมาในปี พ.. ๒๔๕๕ มณฑลอีสานได้แบ่งออกเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด และภายหลังมณฑลทั้งสองนี้ได้ถูกรวมเข้ากับ มณฑลนครราชสีมา
มณฑลต่างๆ ได้ถูกประกาศยุบลงไปตามลำดับ ดังนี้
.  มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล ประกาศยุบไปเมื่อ พ.. ๒๔๖๘
.  มณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดร ถูกยุบไปเมื่อ พ.. ๒๔๗๖   
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.. ๒๔๗๖ ได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร และยกเลิก แบ่งเขตออกเป็นมณฑลเสีย ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีก โดยแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด    ดังนี้
ให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
อำนาจบริหารในจังหวัด  ซึ่งเดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล หรือคณะกรมการจังหวัด          ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นขึ้นอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
.  คณะกรมการจังหวัด  เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด        ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ในปี ๒๕๑๕      ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  ๒๑๘  ลงวันที่  ๒๙  กันยายน ๒๕๑๕   ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด  และอำเภอ   ให้จังหวัดเป็นที่รวมท้องที่หลายๆ   อำเภอ มีฐานะเป็นนิติบุคคล  การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัด เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

ทำเนียบรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง   ข้าหลวงประจำจังหวัด                                            และผู้ว่าราชการ  จังหวัดบุรีรัมย์

. พระยารังสรรค์สารกิจ (เลื่อน)        ตั้งแต่      ๒๐ ส.. ๒๔๔๑ - ๖ มิ..๒๔๔๔
. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง)     "          ๖ มิ.. ๒๔๔๔ - ๑ ต.. ๒๔๕๑
. พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์                 "          ๑ ต.. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๕
. พระยาราชเสนา                 "                      ๒๔๕๕ - ๒๔๕๖
. หม่อมเจ้านิสากร                 "                      ๒๔๕๖ - ๒๔๖๐
. หลวงรังสรรค์สารกิจ                             "                         ๒๔๖๐ - ๒๔๖๒        
. พระยานครภักดีศรีนครนุรักษ์           "                      ๒๔๖๓ - ๑ เม.. ๒๔๖๘
    (... ชุบ นพวงศ์ ณ อยุธยา)
. พระยาสุริยราชวราภัย                 .  "        ๒๖ มี.. ๒๔๖๘ - ๑ มิ.. ๒๔๗๑                                                
. พระพิทักษ์สมุทรเขต                               "       ๒๒ พ.. ๒๔๗๑ - ๒๒ ก.. ๒๔๗๖
๑๐. ... พระกล้ากลางสมร                  "       ๒๒ ก.. ๒๔๗๖ - ๒๕ เม.. ๒๔๗๘
๑๑. ... หลวงอัสวินศิริวิลาส            "      ๒๕ เม.. ๒๔๗๘ - ๑๖ ม.. ๒๔๗๙
๑๒. หลวงสฤษดิ์สาราลักษณ์               ตั้งแต่      ๑๖ ม.. ๒๔๗๙ - ๑๘ เม.. ๒๔๘๐
๑๓. หลวงบรรณสารประสิทธิ์             "        ๑๘ เม.. ๒๔๘๑ - ๑๘ เม.. ๒๔๘๒
๑๔. .. ขุนทะยานราญรอน             "        ๑๘ เม.. ๒๔๘๒ - ๒ ก.. ๒๔๘๓
๑๕. ขุนพิเศษนครกิจ                             "           ๒ ก.. ๒๔๘๓ - ๖ ก.. ๒๔๘๕
๑๖. หลวงปราณีประชาชน                       "           ๖ ม.. ๒๔๘๕ - ๒๔ ต.. ๒๔๘๕
๑๗. ขุนไมตรีประชารักษ์                  "         ๑๘ พ.. ๒๔๘๕ - ๖ ก.. ๒๔๘๖
๑๘. หลวงบริหารชนบท                   "           ๒ ก.. ๒๔๘๖ - ๒๒ พ.. ๒๔๘๗
๑๙. ขุนศุภกิจวิเลขการ                    "         ๑๙ ธ.. ๒๔๘๗ - ๗ ต.. ๒๔๘๙
๒๐. นายสุทิน   วิวัฒนะ                   "           ๗ ต.. ๒๔๘๙ - ๗ ก.. ๒๔๙๒
๒๑. ขุนอารีย์ราชการัณย์                  "         ๑๑ เม.. ๒๔๙๒ - ๑๑ พ.. ๒๔๙๒
๒๒. ขุนบุรราษฎร์นราภัย                 "          ๑๔ ม.. ๒๔๙๓ - ๗ ม.. ๒๔๙๕
๒๓. หลวงธุรนัยพินิจ                       "            ๘ ม.. ๒๔๙๕ - ๘ มี.. ๒๔๙๘
๒๔. .. จำรูญ  จำรูญรณสิทธิ์          "           ๘ มี.. ๒๔๙๘ - ๒๔ เม.. ๒๔๙๙
๒๕. นายชู  สุคนธมัต                      "           ๗ มิ.. ๒๔๙๙ - ๒๓ ก.. ๒๕๐๑
๒๖. นายเอนก  พยัคฆันตร      "          ๑๕ ต.. ๒๕๐๑ - ๕ ต.. ๒๕๐๕
๒๗. นายสมอาจ  กุยกานนท์              "           ๕ ต.. ๒๕๐๕ - ๘ ม.. ๒๕๑๑
๒๘. นายสุรวุฒิ  บุญญานุศาสน์           "           ๙ ม.. ๒๕๑๑ - ๑๗ พ.. ๒๕๑๖
๒๙. นายวุฒินันท์  พงศ์อารยะ            "           ๑ ต.. ๒๕๑๖ - ๓๐ ก.. ๒๕๑๙
๓๐. นายบำรุง  สุขบุษย                   "           ๑ ต.. ๒๕๑๙ - ๓๐ ก.. ๒๕๒๔
๓๑. นายยุทธ  แก้วสัมฤทธิ์      "           ๑ ต.. ๒๕๒๔ - ปัจจุบัน


สนิท  เงินยวง "ของดี ๗๑ จังหวัด" หน้า ๓๕-๔๖
เอกสารเผยแพร่ในการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือขอนแก่น ๑๙-๒๒ กันยายน ๒๕๒๑      "อุตสาหกรรมท่องเที่ยว" หน้า ๖๖-๖๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ ร.. ๑๑๘
[1] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๗ ร.. ๑๑๙

1 ความคิดเห็น: